นอร์มัน ร็อกเวลล์ ศิลปินวาดภาพประกอบ ผู้ถ่ายทอดนิยาม “American Dream”

ใน วันสำคัญ

นอร์มัน ร็อคเวล นอร์แมน ร็อคเวล norman rockwell วาดภาพประกอบ

HAPPY BIRTHDAY NORMAN ROCKWELL

 

“ผมจะถ่ายทอดให้ผู้คนที่ไม่ทันสังเกตได้เห็นเอง ว่าอเมริกาที่ผมรู้จักนั้นเป็นเช่นไร”


ตำนานศิลปินวาดภาพประกอบชาวอเมริกันที่ถ่ายทอดความเป็น “American Dream” ได้อย่างลึกซึ้ง ผลงานตลอดระยะเวลาชีวิตของเขาล้วนแล้วเล่าวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนอเมริกันได้เป็นอย่างดี ผลงานของเขาได้ช่วยขับเคลื่อนสังคมอเมริกาและสร้างแรงบรรดาลใจให้กับศิลปินอเมริกันมาจวบจนปัจจุบัน


วันนี้ favchair. จะพาทุกคนไปทำความรู้จักผลงานของชายที่ชื่อว่า นอร์มัน ร็อกเวลล์ กันมากขึ้น

 

นอร์มัน ร็อคเวล นอร์แมน ร็อคเวล norman rockwell วาดภาพประกอบ Santa and Scouts in snow

ผู้มีบทบทสำคัญในการสร้างภาพจำเกี่ยวกับซานตาคลอส

 

หากย้อนกลับไปในทศวรรษที่ 1800 ซานตาคลอสของผู้คนในสมัยนั้นไม่ได้เป็นชายร่างกลม ไว้หนวดเครา และมีบุคลิกร่าเริงใจดีอย่างที่ทุกคนรู้จักในวันนี้ ซานตาคลอสในยุคแรกจะเป็นชายร่างซูบผอมมีเครารุงรัง สวมชุดสีเขียวคล้ายเอลฟ์ 

 

นอร์มัน ร็อกเวลล์  คือหนึ่งในผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างภาพจำเกี่ยวกับรูปลักษณ์ของซานต้า ขณะที่เขาอายุเพียง 19 ปี เขาก้าวขึ้นมาเป็นบรรณาธิการศิลปกรรมให้นิตยสาร Boys’ Life ซึ่งในฉบับเดือนธันวาคม พ.ศ. 2456 เขาได้วาดภาพปกนิตยสารที่เกี่ยวกับซานต้าเป็นครั้งแรกในชื่อ "Santa in Snow with Scouts" เป็นเรื่องราวที่ซานต้าเกิดประสบอุบัติเหตุท่ามกลางหิมะ และได้รับการช่วยเหลือจากลูกเสือสองคน

 

นอร์มัน ร็อคเวล นอร์แมน ร็อคเวล norman rockwell วาดภาพประกอบ self portrait

 

ความสร้างสรรค์ที่น่าจดจำ บนนิตยสารแห่งความเป็น “American Dream”

 

“ผมจะถ่ายทอดให้ผู้คนที่ไม่ทันสังเกตได้เห็นเอง ว่าอเมริกาที่ผมรู้จักนั้นเป็นเช่นไร”

 

ตลอดการทำงานร่วมกับ Saturday Evening Post กว่า 47 ปี เขาได้สร้างสรรค์ปกนิตยสารไปถึง 323 ฉบับ ซึ่งแต่ละรูปภาพนั้นสามารถเล่าเรื่องราวความเป็นไปในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนอเมริกันได้เป็นอย่างดี

 

Triple Self-Portrait หนึ่งในผลงาน Self-portrait ที่โด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์ศิลปะอเมริกา เมื่อลองสังเกตดี ๆ คุณอาจเกิดความสงสัยว่า ทำไมแว่นตาของ Rockwell ที่อยู่ในภาพวาดถึงหายไป นั่นเป็นเพราะว่า ร็อกเวลล์คนที่กำลังวาดอยู่นั้นเป็นเพียงตัวจำลองของศิลปินที่กำลังวาดอยู่อีกที ในยุคนั้นนี่ถือเป็นแนวคิดที่แปลกใหม่และน่าตื่นเต้นมาก ๆ นอกจากนั้นในรายละเอียดเล็ก ๆ คุณอาจเห็นถึงผลงาน Self-portrait ของศิลปินที่โด่งดังในประวัติศาสตร์ Durer, Rembrandt, Van Gogh และ Picasso ที่ถูกหยิบนำมาเป็นองค์ประกอบในภาพอีกด้วย

 

นอร์มัน ร็อคเวล นอร์แมน ร็อคเวล norman rockwell วาดภาพประกอบ Four Freedoms

 

เสรีภาพแห่งอเมริกันชนเบ่งบาน ท่ามกลางวิกฤตสงครามโลก

 

Four Freedoms ผลงานในปี 1943 คือชุดภาพประวัติศาสตร์อเมริกาที่เป็นสัญลักษณ์ของเสรีภาพชาวอเมริกันอย่างแท้จริง โดยแต่ละภาพนั้นจะประกอบด้วย Freedom of Speech เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น, Freedom to Worship เสรีภาพในการนับถือศาสนา, Freedom from Want เสรีภาพจากความขาดแคลน และ Freedom from Fear เสรีภาพจากความหวาดกลัว 

 

โดยแรงบันดาลใจของชุดภาพนี้มาจากประธานาธิปดีโรสเวลต์ในปี 1941 ที่ต้องการปลุกใจชาวอเมริกันชนที่กำลังหวาดหวั่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ต้องการยกย่องเสรีภาพเหล่านี้ว่าเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ทุกคนควรได้รับ โดยไม่คำนึงว่าพวกเขาจะอาศัยอยู่ที่ใดในโลก

 

Freedom from Want ที่มันได้กลายเป็นต้นแบบสำหรับวันขอบคุณพระเจ้าของชาวอเมริกันทุกคน โดยบุคคลในภาพล้วนแล้วมาจากกลุ่มเพื่อน คนรู้จัก และสมาชิกในครอบครัวของร็อกเวลล์เอง หลายคนอาจรู้สึกคุ้นกับภาพนี้ เพราะมันถูกใช้เป็นแรงบันดาลใจ นำไปสร้างสรรค์และตีความในแบบฉบับใหม่อยู่หลากหลายครั้ง

 

นอร์มัน ร็อคเวล นอร์แมน ร็อคเวล norman rockwell วาดภาพประกอบ The Problem We All Live With

 

ความทรงพลังของภาพวาด สะท้อนความหลากหลายของเชื้อชาติ

 

ร็อกเวลล์ได้สร้างแรงกระเพื่อมทางความคิดอีกครั้ง เกี่ยวกับการต่อต้านการเหยียดสีผิว ผ่านผลงานชิ้นแรกบนนิตยสาร LOOK ในปี 1964  กับผลงาน “The Problem We All Live With” ที่ทรงพลังจนในปี 2011 ประธานาธิบดีโอบามาได้ขอนำภาพนี้ไปติดไว้ในทำเนียบขาว

 

ในภาพวาดนี้คุณจะเห็น Ruby Nell Bridges เด็กหญิงชาวแอฟริกันอเมริกันอายุ 6 ขวบ ที่ถูกพาตัวไปโรงเรียนในนิวออร์ลีนส์ในวันแรกโดยเจ้าหน้าที่สี่นาย โดยบนผนังด้านหลังคำว่า “Nigger” (คำเรียกเหยียดผิวคนดำ) และ “KKK” (Ku Klux Klan ลัทธิชาตินิยมคนผิวขาวหัวรุนแรง) รวมถึงเศษมะเขือเทศที่ถูกขว้างปาใส่ 

 

ในภายหลัง Ruby Nell Bridges ในวัยผู้ใหญ่ได้เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการของ Norman Rockwell Museum อีกด้วย

 

นอร์มัน ร็อคเวล นอร์แมน ร็อคเวล norman rockwell วาดภาพประกอบ Forrest Gump Deadpool 2 Norman Fucking Rockwell!

 

ส่งต่อแรงบันดาลใจ ฝากไว้ในทุกวงการศิลปะ

 

แม้จะล่วงเลยไปกว่า 40 ปีแล้ว ที่ร็อกเวลล์ได้จากโลกนี้ไปในวันที่ 8 พฤษจิกายน 1978 แต่ผลงานที่ชายผู้นี้ได้สร้างสรรค์ไว้ให้กับโลกนี้ ยังคงถูกนำมาถ่ายทอดไปในหลากหลายวงการทั้งศิลปะ ภาพยนตร์ และดนตรี 

 

ในภาพยนตร์รางวัลออสการ์ที่ได้แจ้งเกิดนักแสดงทอมส์แฮงค์อย่าง Forrest Gump ผู้กำกับ Robert Zemeckis ได้นำแรงบันดาลใจจากภาพวาดของ Norman Rockwell มาพรรณนาถึงวัฒนธรรมอเมริกันและสร้างสรรค์เมือง Greenbow รัฐ Alabama รวมถึงคาแร็กเตอร์ตัวละคร Forrest Gump ขึ้นมา ซึ่งผู้กำกับได้เขายังแสดงความเคารพต่อผลงานของร็อกเวลล์ “Girl With a Black Eye” ไว้ในฉากภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยเช่นกัน อย่างฉากที่แม่ของฟอร์เรสท์ กัมพ์กำลังคุยกับครูใหญ่ในโรงเรียน

 

ข้ามผ่านมาอีก 2 ทศวรรษ ภาพยนตร์ Anti-hero สุดกวนอย่าง Deadpool 2 ก็ได้หยิบผลงานที่โด่งดัง Freedom from Want มา Parody ใหม่ผ่านโปสเตอร์หนัง โดยใส่ตัวละครในภาพยนตร์แทนกลุ่มเพื่อน คนรู้จัก และสมาชิกในครอบครัวของร็อกเวลล์ และต่อมาอีก 1 ปี ศิลปินสาวเจ้าเสน่ห์ Lana Del Rey ก็นำแรงบันดาลใจจากผลงานของร็อกเวลล์มาสร้างสรรค์ผลงานเพลงในอัลบั้ม Norman Fucking Rockwell