“การถ่ายทอดวิถีชีวิตและสภาพแวดล้อมอันเรียบง่ายของชาวพื้นเมือง คือแรงบันดาลใจที่ส่งผลให้เขาสร้างสรรค์ผลงานอันโดดเด่นได้อย่างเป็นจำนวนมาก”
พอล โกแกง ศิลปินชาวฝรั่งเศสในช่วงปลายยุคศตวรรษที่ 19 ที่สไตล์ผลงานของตัวเองเป็นเอกลักษณ์ จนชื่อนี้มักพบอยู่ในหนังสือประวัติศาสตร์ศิลปะเกือบทุกเล่มเลยก็ว่าได้ และยังเป็นผู้อยู่ในกระแสการเคลื่อนไหวของศิลปะยุคหลังอิมเพรสชั่นนิสต์ โดยที่เขาได้ริเริ่มจากการทดลองการใช้ทฤษฏีแสงสีของอิมเพรสชั่นนิสต์ ประสบการ์ณทางศาสนาจากชุมชนในชนบทของแคว้นบริตตานีในฝรั่งเศส และการได้ลงไปสัมผัสกับสภาพแวดล้อม ภูมิทัศน์บรรยากาศในหมู่เกาะแคริบเบียน ทำให้เขาได้เฝ้าศึกษาและสังเกตธรรมชาติ และความรู้ทางศิลปะใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น
ในด้านของประวัติและครอบครัว พอล โกแกง เกิดเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2391 ที่เมืองปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในวัยเด็กของเขาครอบครัวต้องลี้ภัยทางการเมืองไปอยู่ยังประเทศเปรู แต่พ่อของเขาก็ได้เสียชีวิตระหว่างทาง ทำให้ตัวเขา พี่สาวและแม่ได้ไปอาศัยอยู่ที่เมืองลิมา ซึ่งเมื่องนี้ได้ทำให้เขาประทับใจ และสร้างแรงบันดาลใจในการแสดงออกทางผลงานศิลปะในเวลาต่อมา ในช่วงอายุ 7 ขวบ ตัวเขาและครอบครัวก็ได้ย้ายกลับไปฝรั่งเศสอีกครั้ง และในเวลาต่อมาเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น ได้เข้าไปทำงานเป็นลูกเรือในเรือสมุทร และเข้ารับราชการทหารในฝรั่งเศส โดยมีงานอดิเรกในการใช้เวลาว่างเขียนรูปภาพ และสะสมผลงานทางศิลปะ
จนกระทั่งต่อมาได้รู้จักกับ “กามิล ปิซาโร” ศิลปินอิมเพรสชั่นชาวฝรั่งเศส ได้รับคำแนะนำและการชักชวนให้รู้จักกับศิลปินท่านอื่น ๆ อีกมากมาย โกแกงได้เช่าสตูดิโอและเขียนรูปภาพสไตล์อิมเพรสชั่น จนทำให้เขาเริ่มทิ้งชีวิตการงานที่มั่นคง ชีวิตที่แสนสะดวกสบายเพื่อออกมาเขียนรูปอย่างจริงจัง โดยเขามักจะชอบออกไปเขียนรูปกับปิซาโร เซซาน และ วินเซนต์ แวนโก๊ะ ในช่วงปี ค.ศ. 2432 เขาได้เริ่มแสดงผลงานศิลปะต่าง ๆ อย่างมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วปารีส ผนวกกับช่วงเวลานั้นได้รับอิทธิพลของพวกศิลปะตะวันออกและแอฟริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานศิลปะพื้นบ้าน (Folk Art) และภาพพิมพ์ญี่ปุ่น ซึ่งตัวเขาชื่นชอบและสนใจอยู่แล้วจึงทำให้ตัดสินใจไปใช้ชีวิตเพื่อวาดรูปอยู่ที่เกาะเฮติ ณ สถานที่นี่นั้นทำให้เขาเองได้เกิดแรงบันดาลใจต่าง ๆ มากมาย เพื่อพัฒนาฝีมือ ความคิดสร้างสรรค์ที่จะผลิตงานศิลปะจำนวนมากออกมาให้โลกได้ชื่นชมกัน
ช่วงบั้นปลายชีวิตเขาประสบกับอาการป่วยด้วยโรคซิฟิลิส และจบชีวิตลงที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งบนเกาะเฮติ ซึ่งเป็นสถานที่ที่เขารักมากที่สุด เพราะภาพวาดส่วนใหญ่มักจะเต็มไปด้วยองค์ประกอบรูปทรงที่เรียบง่าย บิดเบี้ยวไม่มีเงา และเต็มไปด้วยสีสันสดใส ที่แสดงถึงเรื่องราวและวิถีชีวิตที่เรียบง่ายของชาวเกาะ ภายหลังศิลปะสไตล์นี้ได้ถูกเรียกว่า “ศิลปะแบบสังเคราะห์นิยม” หรือ ศิลปะอิมเพรสชั่นนิส สุดท้ายพอล โกแกง เขาได้เชื่อว่าศิลปินสามารถสร้างงานที่ดีได้หากได้รับแรงบันดาลใจจากธรรมชาติ และตัวเขาเองก็ได้รับการยอมรับว่าเป็นศิลปินหัวขบถที่กล้าเสียสละยอมทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างเพื่องานศิลปะที่ตัวเองรัก
ประสบการณ์ทางศาสนาของเขาที่ได้รับจากการศึกษาในชนบทของแคว้นบริตาานีในประเทศฝรั่งเศส และการช่างสังเกต การเฝ้าทดลองและศึกษาจากเรื่องราวธรรมชาติ ทำให้ตัวเขาค้นพบความรู้ใหม่ ๆ และพยายามที่จะถ่ายทอดผลงานออกมาในเชิงสัญลักษณ์ขององค์ประกอบอย่างพื้นผิว เส้นสี และรูปทรง ที่แสดงให้เห็นถึงมิติความลึกเพื่อนเลียนแบบความสมจริง แรงบันดาลใจจากศิลปะของเขาส่วนใหญ่ แสดงถึงความบริสุทธิ์ทางจิตวิญญาณและการใกล้ชิดธรรมชาติ มากกว่าการมุ่งแสวงหาความเจริญทางวัตถุอย่างยุโรปและอเมริกัน อีกทั้งการพยายามค้นหาคำตอบของเขา ได้เป็นแบบอย่างของใครหลาย ๆ คนจนทั่วโลกได้กล่าวขานเขาว่าเป็น “ศิลปินพเนจร ผู้แสวงหาความลึกลับแห่งธรรมชาติ” และชื่อของ พอล โกแกง ก็ได้เป็นสัญลักษณ์แห่งเสรีภาพทางศิลปะ การปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ให้ก้าวพ้นออกจากขีดจำกัดทั้งปวง“การเสาะแสวงหาความสัมพันธ์กับโลกธรรมชาติ คือการได้สัมผัสชุมชนต่าง ๆ และวัฒนธรรมนอกโลกตะวันตก และ การแสวงหาความหมายแห่งการดำรงชีวิตของมนุษย์ คือ การเข้าไปถึงแก่นแท้ของศาสนา ”
พาส่องผลงานของ “พอล โกแกง”
ผู้ถ่ายทอดความเรียบง่ายจากธรรมชาติ
ผลงานส่วนใหญ่ของพอล โกแกง จะเน้นความเรียบง่าย เส้น สี รูปทรงเป็นธรรมชาติ ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ได้ร่ำเรียนเกี่ยวกับศิลปะ แต่ก็สามารถสร้างผลงานที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ได้ โดยเริ่มจากสไตล์ที่ตัวเองชอบ ประยุกต์เข้ากับศิลปะที่ได้รับอิทธิพลในช่วงนั้นอย่างศิลปะสไตล์ตะวันออก ศิลปะแอฟริกัน สไตล์พื้นบ้าน (Folk Art) และภาพพิมพ์ญี่ปุ่นได้เข้ามามีอิทธิพลในตะวันตกมากขึ้น ซึ่งจุดนี้ก็นับเป็นการเปลี่ยนแปลงผลงานของโกแกงเลยก็ว่าได้ แถมยังยกระดับงานศิลปะพื้นเมืองอย่างงานพวกแกะสลัก ภาพพิมพ์แกะไม้ ไม่ให้กลายเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ถึงแม้ว่าช่วงเวลาที่เขามีชีวิตอยู่ ผลงานของเขาอาจจะไม่เป็นที่นิยมมากนัก แต่ภายหลังจากการเสียชีวิต ผลงานของเขาก็กลับมาได้รับความนิยมมากขึ้น และส่งผลต่ออิทธิพลเกี่ยวกับกระแสศิลปะหัวก้าวหน้าของฝรั่งเศส และศิลปินสมัยใหม่ทั่วโลกอย่างมากมาย อย่าง ปาโบล ปิกัสโซ่, อองรี มาตีส จากการผลักดันของนักค้างานศิลปะต่าง ๆ และแอมบรัวส์ โวลาร์ ผู้จัดนิทรรศการแสดงผลงานชิ้นสำคัญในช่วงท้ายชีวิตของพอล โกแกง ในเมืองปารีส ช่วงปี ค.ศ. 1903 และ ค.ศ. 1906
ภาพ Vision After the Sermoon (Jacob wresting with the angel), (1888)
ภาพ The Swineherd, Brittany, (1888)
ภาพ Woman with a Flower, (1891)
ภาพ Tahitian Women on the Beach, (1891)
จริงหรือไม่ ? พอล โกแกง
เป็นคนตัดหู “แวนโก๊ะ” เพื่อนสนิทของเขา
หลายคนอาจสงสัยกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างการที่แวนโก๊ะตัดใบหูข้างซ้ายของตัวเอง เพราเป็นประเด็นที่ผู้คนกล่าวถึงเป็นจำนวนมาก และยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดสักเท่าไรนัก จุดเริ่มต้นเกิดจากการที่ พอล โกแกง และ แวนโก๊ะ เป็นเพื่อนรักที่คุยกันถูกคอ เพราะสนใจเกี่ยวกับงานด้านศิลปะที่คล้ายคลึงกัน ทำให้ทั้งสองตัดสินใจไปอาศัยอยู่ด้วยกัน เพื่อสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะ แต่ด้วยอาการของโรคซึมเศร้ารุนแรงของแวนโก๊ะ ทำให้ทั้งสองเกิดการทะเลาะ มีปากเสียงโต้เถียงกันบ่อยครั้ง ด้วยสภาพจิตใจที่ไม่มั่นคงของแวนโก๊ะทำให้คิดว่าโกแกงชอบดูถูกตน เพราะโกแกงมีภูมิฐานที่มั่งคั่ง และดูดีกว่าตัวเอง จนเมื่อมาถึงการโต้เถียงครั้งสุดท้ายของทั้งสองคน แวนโก๊ะเกิดอาการควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ไม่มั่นคง ทำให้เขาคว้ามีดที่อยู่ใกล้ตัว มาไล่ฟันโกแกง อาการโรคที่เกิดจากการแปรปรวนของอารมณ์ที่รุนแรงเกินกว่าที่คาดคิด จนทำให้แวนโก๊ะสูญเสียเพื่อนรักอย่างโกแกงไป
แต่ก็ได้มีข้อสันนิษฐานมากมายหลายข้อที่ได้กล่าวไว้ว่าการตัดใบหูข้างซ้ายของแวนโก๊ะนั้นเกิดจากการโต้เถียงกับหญิงสาวโสเภณีผู้ซึ่งเป็นแฟนของเขาอย่างรุนแรง เขาจึงตัดใบหูข้างซ้ายเพื่อประชดหญิงสาวอันเป็นที่รัก แต่อีกข้อสันนิษฐานจากนักประวัติศาสตร์ก็ได้กล่าวไว้ว่า คนที่ตัดใบหูของแวนโก๊ะอาจจะไม่ใช่ตัวของเขาเอง แต่อาจจะเป็นพอล โกแกง เพื่อนรักของเขาเอง ซึ่งสาเหตุมาจากการทะเลาะแย่งหญิงสาวโสเภณีที่มีชื่อว่า “ราเชล” และเมื่อตำรวจได้ลงมาสอบสวนถึงเหตุการณ์นี้ ก็ไม่มีใครยอมรับว่าเป็นคนทำ แต่ข้อสันนิษฐานที่เห็นตรงกับมากที่สุด คือการที่ใบหูข้างซ้ายนั้นหายไป มีสาเหตุหลักจากหญิงโสเภณีคนนี้นั้นเอง หลังจากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น แวนโก๊ะก็ได้ไปรักษาสุขภาพจิตของตัวเองที่ประเทศฝรั่งเศส และตัวเขาได้เขียนภาพวาดราตรีประดับดาว หรือ Starry Night อันโด่งดังไปทั่วโลก ซึ่งเป็นภาพสีน้ำมันที่แสดงให้เห็นถึงวิวทิวทัศน์ในตอนกลางคืน เป็นมุมมองของแวนโก๊ะที่มองวิวผ่านหน้าต่างของสถานบำบัด แสดงให้เห็นถึงความสวยงามและการซ่อนความรู้สึกอันแสนเจ็บปวดเอาไว้ข้างใน